NATIONAL AVIATION MUSEUM OF THE ROYAL THAI AIR FORCE : พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ
NATIONAL AVIATION MUSEUM OF THE ROYAL THAI AIR FORCE พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ
ภายหลังที่อากาศยานได้เริ่มทำการบินประสบผลสำเร็จในทวีปอเมริกา และทวีปยุโรปเพียง ๗-๘ ปีเท่านั้น
ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ทรงริเริ่มขึ้นด้วยหวังที่จะใช้เครื่องบินเป็นอาวุธสำหรับป้องกันประเทศ มิให้ข้าศึกบุกรุกเข้ามาถึงใจกลางของประเทศเป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังได้ประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ
การคมนาคมในยามปกติ กิจการบินในประเทศไทยสมัยแรกๆจึงเป็นกิจการบินทางทหารและกิจการบิน
ทางทหารนี้ได้มีส่วนสนับสนุนเป็นพื้นฐานและเป็นบ่อเกิดอันสำคัญของการบินในกิจการพลเรือน เช่น การไปรษณีย์ทางอากาศ การลำเลียงผู้เจ็บป่วยทางอากาศ การบินพาณิชย์
ดังนั้น กระทรวงกลาโหม จึงดำริตั้งกิจการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบกตั้งแต่นั้นมา
และได้คัดเลือกนายทหาร ๓ นาย ส่งไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส คือ
นายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ
นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร
นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต
ทั้ง ๓ ท่าน ได้รับการฝึกบินจนสำเร็จ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ และได้เป็นผู้วางรากฐานด้านการบิน
ทั้งในด้านการฝึกบิน และการช่างอากาศ ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็น “บุพการีทหารอากาศ” และเป็นนักบินหมายเลข ๑ , ๒ และ ๓ ของประเทศไทย ตามลำดับ
เมื่อนักบินทั้ง ๓ นาย เดินทางกลับประเทศไทยนั้น กระทรวงกลาโหม ได้สั่งซื้อเครื่องบินจาก ประเทศฝรั่งเศสมาด้วย จำนวน ๔ เครื่อง เป็นแบบ เบรเกต์
ชนิดปีก ๒ ชั้น จำนวน ๔ เครื่อง เครื่องบินนิเออปอรต์ ชนิดปีกชั้นเดียว จำนวน ๔ เครื่อง ในระยะแรกใช้สนามบินราชกรีฑาสโมสรเป็นสนามบิน
ต่อมาได้เลือกที่ตั้งใหม่ และย้ายมาที่ ตำบลดอนเมือง เมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๔๕๗ กิจการบินจึงได้เริ่มเป็นหลักฐานที่ดอนเมืองตั้งแต่บัดนั้น แล้ว
รัชกาลที่ ๖ ได้ประกาศสงคราม และส่งทหารออกไปร่วมรบ โดยจัดเป็นกองบินทหารบก มีนักบิน ช่างเครื่อง ทั้งนายทหาร นายสิบ และพลทหาร ประมาณ ๔๐๐ คนเศษ ออกจากดอนเมืองเมื่อ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๖๑
กิจการบินได้มาเริ่มวางรากฐานที่สนามบินดอนเมือง ตั้งแต่ ๘ มีนาคม ๒๔๕๗ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่สงครามโลก
ครั้งที่ ๑ ได้อุบัติขึ้น สนามบินดอนเมืองจึงเป็นฐานที่ตั้งสำคัญและการริเริ่มกิจการต่าง ๆ ทั้งทางการบินในกิจการทหาร และกิจการพลเรือน ใน ๒๕ ปีแรก นับตั้งแต่เริ่มส่งนักบินไปศึกษาวิชาการบินในปี พ.ศ.๒๔๕๔ นั้น สรุปได้ดังนี้
ภายหลังที่จัดหน่วยเป็น กองบินทหารบก ตั้งแต่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๗ แล้ว อีก ๓ ปีต่อมา กระทรวงกลาโหม
ได้ยกฐานะขึ้นเป็น กรมอากาศยายทหารบก (มีฐานะเท่ากับกองพล) เมื่อ ๑๘ มีนาคม ๒๔๖๑ เพราะได้มีกำลังพลและยุทโธปกรณ์เพิ่มขึ้นมี กองบินใหญ่ ๓ กองบิน ในปี ๒๔๖๓ ได้เริ่มใช้สนามบินนครราชสีมา โดยจัดให้กองบินใหญ่ที่ ๓ ไปประจำ และในปี ๒๔๖๕ ได้เริ่มใช้สนามบินประจวบคีรีขันธ์ โดยจัดให้กองบินใหญ่ที่ ๑ ไปประจำ
ได้เปิดใช้สนามบินลพบุรี (โคกกะเทียม)
พ่อค้า ประชาชน ได้เห็นความสำคัญของกำลังทางอากาศ ได้ร่วมกันบริจาคเงินซื้อ
เครื่องบินให้แก่ กรมอากาศยานทหารบก ได้ถึง ๓๐ เครื่อง
ได้มีการจัดหน่วยงานในกรมอากาศยานอีก ๒ ครั้ง ตามที่หน่วยได้ขยายตัวมากขึ้น
กิจการเจริญมั่นคงขึ้น กองบินที่ได้ไปประจำอยู่สนามบินต่างจังหวัดก็พัฒนามากขึ้น
จนวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๗๘
กิจการบินได้มาเริ่มวางรากฐานที่สนามบินดอนเมือง ตั้งแต่ ๘ มีนาคม ๒๔๕๗ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่สงครามโลก ครั้งที่ ๑ ได้อุบัติขึ้น สนามบินดอนเมือง
จึงเป็นฐานที่ตั้งสำคัญและการริเริ่มกิจการต่าง ๆ ทั้งทางการบินในกิจการทหาร
และกิจการพลเรือน ใน ๒๕ ปีแรก นับตั้งแต่เริ่มส่งนักบินไปศึกษาวิชาการบินในปี พ.ศ.๒๔๕๔ นั้น สรุปได้ดังนี้